Saturday, July 3, 2010

ท่องเที่ยวเมืองมุกดาหาร

                                                      หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีนเมืองมุกดาหาร เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครพนมมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2450 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2525  รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ 17 ของภาคอีสาน จังหวัดมุกดาหารอยู่ห่างกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ 624 กม. ตั้งอยู่ติดชายฝั่งแม่น้ำโขงตอนใต้ของจังหวัดนครพนม ตรงกันข้ามกับเมืองสำคัญทางตอนใต้ของประเทศลาว คือ สุวรรณเขต (หรือสวรรค์เขต)มุกดาหารจึงเป็นประตูด่านสำคัญสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน มีความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่น้องกับแขวงสวันเขต สปป.ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง 70 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่มีถึง 8 เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยกะเลิง ไทยแสกและไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามจังหวัดมุกดาหารไม่ค่อยจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพราะเหตุว่าเดิมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนครพนม จึงไม่ค่อยจะพบเรื่องราวที่บันทึกไว้ แต่ก็คงมีประวัติควบคู่มากับเมืองนครพนมและเมืองธาตุพนม จากศิลาจารึกวัดธาตุพนม 3 ลงศักราช พ.ศ.2349 (สมัยรัชกาลที่ 2)ตามประวัติของจังหวัดมุกดาหารกล่าวไว้ว่า เจ้ากินรีซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองเมืองโพนสิน (บริเวณธาตุอินฮัง แขวงสุวรรณเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน) ได้อพยพผู้คนข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งเมืองใหม่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงบริเวณปากห้วยมุก เมื่อปี พ.ศ.2310 เหตุที่เลือกปากห้วยมุกนี้ เพราะนายพรานซึ่งอยู่ในปกครองของเจ้ากินรีได้ข้ามฝั่งโขงมาล่าสัตว์ และเมื่อถึงบริเวณปากห้วยมุกได้พบต้นตาลต้นหนึ่งมี 7 ยอด และพบกองอิฐปรักหักพังอยุ่ใต้ต้นตาลซึ่งสันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ตั้งบ้าน เมืองมาก่อน นายพรานจึงนำความไปแจ้งเจ้ากินรี เมื่อเจ้ากินรีมาตรวจดู เห็นว่าเป็นทำเลเหมาะแก่การตั้งเมือง จึงอพยพผู้คนข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งเมืองที่บริเวณปากห้วยมุกและเมื่อตั้งเมือง ใหม่ ๆ นั้น ผู้คนได้เห็นแก้วดวงหนึ่งมีสีสดใสลอยออกมาจากต้นตาล 7 ยอดในตอนกลางคืน และลอยกลับมาที่ต้นตาลในตอนเช้ามืดแทบทุกวัน เจ้ากินรีจึงให้ชื่อแก้วดวงนั้นว่า แก้วมุกดาหาร และให้ชื่อเมืองว่า เมืองมุกดาหาร ตั้งแต่เดือน 4 ปีกุน พ.ศ.2313 เป็นต้นมาต่อมาในปี พ.ศ.2321 เมืองเวียงจันทน์ได้ยกทัพมาตีเมืองลุ่มบัวลำภู (อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปช่วยเมืองลุ่มบัวลำภู เจ้าพระยาจักรียกทัพเรือมาตามลำน้ำโขง ปราบปรามเมืองนครจำปาศักดิ์และเวียงจันทน์ โดยได้ตีเอาเมืองน้อยใหญ่ตามลำน้ำโขง รวมทั้งเมืองมุกดาหารเข้ามาอยู่ในความปกครองของกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้ากินรีเป็น “พระยาจันทร์ศรีสุราชอุปราชามัณฑาตุราช” เจ้าเมืองมุกดาหารมีเจ้าเมืองสืบต่อกันมาจนถึง พ.ศ.2434 หลังจากการปราบกบฎฮ่อแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงให้จัดการปกครองแบบมณฑลขึ้นในภาคอีสาน เมืองมุกดาหารจึงถูกรวมเข้ากับมณฑลลาวพวน ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองหนองคาย โดยมีกรมหลวงปรจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงประจำมณฑล ต่อมามณฑลลาวพวนได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ ในปี พ.ศ.2442 แต่เมืองมุกดาหารได้แยกออกมารวมเข้ากับบริเวณธาตุพนม พ.ศ.2443 ได้เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือมาเป็นมณฑลอุดร แล้วยกเลิกการปกครองแบบบริเวณโดยให้เมืองมุกดาหารขึ้นกับมณฑลอุดร ต่อมาในปี พ.ศ.2450 เมืองมุกดาหารได้ถูกยุบลงเป็นอำเภอมุกดาหารขึ้นกับจังหวัดนครพนม


 สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว
หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก   อยู่ในตัวเมืองมุกดาหารเป็นหอสูง ภายในมีห้องจัด แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองมุกดาหาร วิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรม ของชนเผ่าพื้นเมืองของชนสองฝั่งโขง ชั้นบนสุดเป็นหอพระประดิษฐานพระพุทธรูปนวมิ่งมงคลมุกดาหารและสามารถชมทัศนียภาพรอบตัวเมือง แม่น้ำโขงและฝั่งลาวได้


แก่งกะเบา 


เป็นแก่งหินยาวเหยียดตามลำน้ำโขง บนฝั่งก็ยังมีลานหินกว้างใหญ่เป็นที่พักผ่อนได้อย่างดี


ตลาดอินโดจีน



วัดสองคอน 



สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขีเป็นโบสถ์คริสต์สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่มีความสวยงามและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม   มีหุ่นขี้ผึ้งของนักบุญราศรีทั้งเจ็ด บริเวณกว้างขวางและมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง


อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร



หรือภูผาเทิบ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล   ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทราย ประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกัน แบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน ภายในประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย
หอยสมัยหิน 
มีลักษณะคล้ายหอยสังข์จำนวนมาก ฝังอยู่ในดินลึกประมาณ 40 ฟุต พบที่โคกหินแดง บ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จากการวิจัยของกรมทรัพยากรธรณีโดยนำหอยไปวัดความหนาแน่นแล้วทำให้ทราบว่า เปลือกโลกบริเวณนี้มีอายุประมาณ 27 ล้านปี ซึ่งขุดพบเป็นแห่งที่ 3 ของโลก บริเวณที่พบเปลือกหอยนี้ ปรากฏว่าเป็นชั้นหินปูนหนาประมาณ 1 ฟุต
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว 
เป็นอุทยานที่มีพื้นที่อยู่บนแนวรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์มาก มีความงามทางธรรมชาติให้สัมผัสหลายแบบ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่หลายแห่งมีลานหินขนาดใหญ่ เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งกระจายอยู่ตามเทือกเขา
ภูสระดอกบัว 
ที่ยอดภูสระดอกบัวมีแอ่งหินกว้าง มีน้ำขังตลอดปี มีบัวพันธุ์ต่างๆ ขนาดเล็ก ขึ้นอยู่เต็มสระ
ภูผาแตก 
หรือชื่อทางยุทธศาสตร์ว่า "เนิน 428" ที่นี่มีจุดชมวิวมีองค์ประกอบทางธรรมชาติสวยงาม ทางด้านทิศเหนือสามารถมองเห็นทิวเขา ของอุทยานแห่งชาติมุกดาหารในระยะไกลได้ 
ลานหินและป่าเต็งรังแคระ 
เป็นลานหินยาวและใหญ่ สลับกับป่าเต็งรังแคระ บางแห่งเป็นป่าเต็งรังสลับกับป่าหญ้าเพ็ก 
กลองมโหระทึก 
เป็นกลองสัมฤทธิ์หน้าเดียว เส้นผ่าศูนย์กลาง 86 เซนติเมตร ตัวกลองยาว 90 เซนติเมตร หน้ากลองเป็นรูปตะวันนูน มีแฉก 14 แฉก มีรูปกบติดขอบกลองจำนวน 4 ตัว กลองดังกล่าวเชื่อว่าอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี และเป็นกลองที่พวกข่าและขอมโบราณชอบเก็บสะสมไว้ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2481 ที่บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำโขงที่น้ำเซาะพังตรงบ้านนาทาม เก็บไว้ที่วัดเวินไชยมงคล อำเภอดอนตาล แต่ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่วัดมัชฌิมาวาส
วัดพุทธโธธัมมะธะโร 
ตั้งอยู่ที่บ้านชัยมงคล อำเภอนิคมคำสร้อย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีธรรมจักรเปล่งรัศมีอยู่ด้านบนมีความอ่อนช้อยสวยงาม สามารถมองเห็นได้แต่ไกล บริเวณวัดเป็นหินดานธรรมชาติ
น้ำตกตาดโตน 
มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำได้ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวมุกดาหารและชาวจังหวัดใกล้เคียง 






No comments:

Post a Comment